ปรับแผนการตลาด โตโยต้า เตรียมลดขายภายในประเทศแล้ว
เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่คนทั้งประถเทศต่างให้ความสนใจ และติดตาม ตรงนี้ต้องบอกว่า การปรับแผนครั้งนี้น่าเป็นห่วงจริงๆ ล่าสุด เพจ ข่าวสารชลบุรี-ระยอง ได้มีการรายงานว่า บริษัท โตโยต้า ประกาศปรับลดเป้าหมายการขายปี 2564 เหลือ 2.6 แสนคัน จากที่เคยตั้งไว้ 3 แสนคัน และขยับแผนส่งออกเพื่อชดเชยตัวเลขในประเทศ รับ
อานิสงส์ค่าเงินบาทอ่อน พร้อมวางกำลังผลิตใหม่ รวม 3 โรงงาน เป็น 5.8 แสนคัน เพิ่มขึ้นจาก 4.42 แสนคันในปี 2563
หลังจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ในไทยหลายราย ต้องเผชิญกับวิกฤติ cv 19 ทั้งปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วน อุปสรรคด้านโลจิสติกส์ รวมถึงการติด cv 19 ของพนักงาน ของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วน จนส่งผลต่อการวางผลิตรถยนต์
ดังนั้น บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ทั้งแบรนด์ญี่ปุ่น อเมริกัน จีน ยังต้องจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และประเมินผลกระทบกันทุกสัปดาห์ โดยที่ผ่านมาได้ปรับแผนงานการผลิต ทั้งเพิ่มวันหยุดตามปีปฏิทิน ลดเวลาทำงาน ให้สอดคล้องกับศักภาพการผลิตตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 เป็น ต้นมา
ขณะที่เดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา โตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย ประกาศให้โรงงานผลิตรถยนต์ 3 แห่งในไทยหยุดยาว 9 วัน จากปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนเพื่อการผลิต เพราะโรงงานของซัพพลายเออร์ต้องปิด หลังพบ พนักงานติดc v 19
สำหรับโตโยต้า มีโรงงานผลิตรถยนต์ 2 แห่งที่ จ.ฉะเชิงเทรา คือ บ้านโพธิ์ กำลังการผลิตเต็มที่ 2.2 แสนคันต่อปี และเกตเวย์ 3 แสนคันต่อปี รวมถึงโรงงานสำโรง จ. สมุทรปราการ 2.4 แสนคันต่อปี โดยทั้ง 3 โรงงานหยุดการผลิตชั่วคราวจากผลกระทบด้าน cv-19 ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2564
ล่าสุด บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย จำกัด ออกมาประกาศดัชนีอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย หลังผ่านครึ่งปีแรก 2564 โดย โตโยต้าปรับลดเป้าหมายการขาย ของตลาดรวมลงเหลือ 8 แสนคัน น้อยกว่าที่ประเมินไว้ช่วงต้นปีว่า ยอดขายทุกยี่ห้อจะถึง 8.5 – 9.0 แสนคัน เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่ทำได้ 7.92 แสนคัน
ขณะเดียวกันยังปรับ ลดเป้าหมายการขายของตนเองลงเหลือ 2.6 แสนคัน จากที่เคยตั้งไว้ 2.8 – 3.0 แสนคัน แม้เป้าหมายการขายใหม่ 2.6 แสนคัน เป็นการปรับลดลง แต่ถ้าเทียบกับปี 2563 ที่โตโยต้าทำได้ 2.44 แสนคัน นั่นหมายถึงค่ายรถยนต์รายนี้จะมีอัตราเติบโตในปี 2564 ถึ ง 6% เมื่อเทียบกับตลาดรวมที่คาดว่าจะขยายตัวเพียง 1%
นายโนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า แม้ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจะยังคงได้รับผลกระทบอย่างมาก จากสถานการณ์ cv-19 แต่ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ยอดขายตลาดรวมอยู่ที่ 373,191 คัน เพิ่มขึ้น 13.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
การแพร่ ในระลอกล่าสุดมีความรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ได้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม และส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสิน ใจซื้อรถยนต์ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงมุ่งหวังว่าสถานการณ์ต่างๆจะฟื้นตัวดีขึ้น จากความพยายามของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาควบคู่ไปกับแผน การฉีดวั คซี นสำหรับคนไทย
ซึ่งจะก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม
มีหลากหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อทิศทางของตลาดรถยนต์ในปีนี้ ทั้งสถานการณ์ c v 19 ระลอกล่าสุด การเข้าถึงวัคซีนของประชาชน รวมถึงแนวโน้มสภาวะ เศรษฐกิจทั่วโลก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ตลอดจนการสนับสนุน จากองค์กรเอกชนทุกภาคส่วนที่ผนึกกำลังในการร่วมคลี่คลายสถานการณ์ เรามีความ เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังนี้จะสามารถฟื้นตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น
จึงคาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2564 จะอยู่ที่ 8 แสนคัน เพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา นายยามาชิตะ กล่าวสรุป
แม้โตโยต้าจะปรับลดเป้าหมายการขายในประเทศลง แต่กลับพบว่า ได้เพิ่มการผลิตรถยนต์จากเดิมวางไว้ 5.27 แสนคันในปีนี้ เป็น 5.8 แสนคันสาเหตุมาจากตลาดส่งออก
โดย เริ่มฟื้นตัวขณะเดียวกันสถานการณ์เงินบาทอ่อนค่าแตะระดับ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯน่าจะเป็นปัจจัยบวกเพียงไม่กี่อย่างในสถานการณ์ธุรกิจ ณ ปัจจุบัน โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ขยับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์ปีนี้เพิ่มเป็น 3.22 แสนคัน โดยสูงกว่าปี 2563 ที่ทำได้ 2.15 แสนคัน
ซึ่งประเด็นนี้สอดคล้องกับกลุ่ม อุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่วิเคราะห์ว่า ยอดขายรถยนต์ในประเทศคู่ค้าของไทย กลับมาฟื้นตัว ทั้ง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ญี่ปุ่น เวียดนาม มาเลเซีย และภูมิภาคยุโรป จึงปรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์เพิ่มเป็น 8.0-8.5 แสนคันใน ปี 2564 แต่ยังคงเป้าการขายในประเทศไว้เท่าเดิมที่ 7.5 แสนคัน