วอลมาร์ท เลิกขาย กระทิชาวเกาะ PETA ชี้ทารุณลิงเก็บมะพร้าว

บิสซิเนสอินไซเดอร์ รายงานวันพฤหัสบดี(9 มิ.ย)ว่า ในรายงานการสอบสวนของ PETA จำนวน 2 ชิ้นค้นพบว่ามีการใช้ลิงล่ามโซ่เก็บมะพร้าวโดยลิงเหล่านี้โดนขังกรงในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำกะทิกระป๋องชื่อดังจากไทย

ห้างยักษ์ใหญ่วอลมาร์ท(Walmart)ชื่อดังที่มีสาขาทั่วสหรัฐฯล่าสุดยกเลิกการจำหน่าย “กะทิชาวเกาะ” แบรนด์ดังจากไทย ยอมเดินตามอย่างห้างยักษ์ใหญ่ต่างๆในอเมริการายอื่นๆก่อนหน้า

ทั้งนี้ห้างในอเมริกาอื่นๆที่ตัดสินใจยกเลิกการจำหน่ายกะทิชาวเกาะเป็นต้นว่า ห้างทาร์เก็ต(Target) ที่มีสาขาทั่วอเมริการาว 1,931 สาขา ห้างโครเกอร์ (Kroger) มีสาขาเกือบ 2,800 สาขา ห้างอัลเบิร์ตสันส์(Albertsons) มีราว 2,253 สาขา ห้าง Stop Shop มีราว 415 สาขา ห้างฟู๊ดไลออน (Food Lion)มีราว 1,100 สาขา ห้างพับลิกซ์ (Publix)มีราว 1,288 สาขา ส่วนห้างเว็กแมนส์( Wegmans)มีราว 107 สาขา และห้างคอสต์โก(Costco)มีราว 572 สาขาทั่วสหรัฐฯ ต่างพร้อมใจยกเลิกการจำหน่ายกะทิชาวเกาะเช่นกันเป็นผลมาจากการเผยแพร่การสอบสวนของ PETA ในเรื่องนี้

สำหรับวอลมาร์ทพบว่ามีสาขาทั่วอเมริการาว 10,500 สาขา ซึ่งทั้งห้างวอลมาร์ท ห้างทาร์เก็ตและห้างคอสต์โกนั้นเป็นห้างที่มีสาขาเปิดทั่วโลก

บริษัทเทพพดุงพรมะพร้าวจำกัดเป็นผู้ผลิตกะทะชาวเกาะมีฐานการผลิตอยู่ในไทย โดยบนเว็บไซต์ทางการในรายงานการสอบสวนของ PETA ภายใต้หัวข้อ 10 เหตุผลที่ลิงต้องการให้พวกเราต้องไม่ซื้อกะทิชาวเกาะ (https://www.peta.org/features/chaokoh-coconut-milk-monkeys/) กล่าวยืนยันว่า กะทิชาวเกาะที่มีจำหน่ายในบางห้างทั่วสหรัฐฯนั้นมีการใช้แรงงานทาสจากลิงเกิดขึ้น

 

 

โดยในรายงานกล่าวว่าลิงที่ถูกใช้เก็บมะพร้าวเพื่อนำมาผลิตเป็นน้ำกะทินั้นถูกล่ามโซ่ตลอดเวลา ทำการฝึกสอนอย่างทารุณ และบังคับให้ลิงขึ้นต้นมะพร้าวเพื่อเก็บมะพร้าว

ซึ่งหนึ่งในเหตุผลหลักที่ทาง PETA ให้กับผู้บริโภคจนนำมาสู่การบอยคอตจากห้างชื่อดังหลายห้างในสหรัฐฯคือ ลิงจำนวนมากในไทยที่ถูกใช้ในอุตสาหกรรมมะพร้าวมีรายงานว่าเป็นลิงเถื่อนที่ถูกพรากมาจากครอบครัวของพวกมัน

นอกจากนี้ในเหตุผลอื่นๆยังรวมไปถึงลิงเหล่านี้ถูกปฎิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมด้วยการที่ลิงพวกนี้ไม่สามารถมีอิสระในการเคลื่อนไหวร่างกายหรืออยู่รวมกลุ่มกับลิงอื่นๆเหมือนตามธรรมชาติ ส่งผลทำให้ลิงเหล่านี้อยู่ในสภาพไม่สามารถควบคุมตัวเองได้

นอกจากนี้ทางกลุ่มสิทธิสัตว์ยังยกตัวอย่างไปถึงการขนย้ายลิงในกรงใหญ่กว่าตัวที่ลิงไม่มากนักและยังถูกบรรทุกบนหลังรถปิ๊กอัพไปท่ามกลางฝนที่ตกลงมาอย่างหนักโดยที่ไม่มีสิ่งป้องกัน ประการสุดท้ายที่สำคัญที่สุดที่ PETA ชี้ให้เห็นคือ “ลิงถือเป็นสัตว์ป่าที่มนุษย์ไม่สมควรที่จะแสวงหาประโยชน์ ทารุณ หรือนำไปใช้งาน”

ซึ่งในรายงานกลุ่มสิทธิสัตว์กล่าวไปว่า การสนับสนุนผลิตภัณฑ์น้ำกะทิก็เท่ากับว่าเป็นการซื้อสิ่งที่ใช้แรงงานลิงบังคับ

ในรายงานบนเว็บไซต์ของ PETA กล่าวว่า หลังจากรายงานเรื่องการใช้ลิงอย่างทางรุณเพื่อเก็บมะพร้าวถูกเผยแพร่ออกไปพบว่ามีห้างร้านไม่ต่ำกว่า 25,000 ห้างได้ยุติการจำหน่ายกะทิชาวเกาะ รวมไปถึงผู้บริโภคทั่วโลกหันมาบอนคอต(แบรนด์นี้)เนื่องมาจากการเชื่อมโยงของ(มัน)เกี่ยวข้องกับการทารุณสัตว์

บิสซิเนสอินไซเดอร์รายงานว่า รองประธานบริหาร PETA เทรซี รีแมน(Tracy Reiman) ออกแถลงการณ์แสดงความยินดีในวันอังคาร(7)ที่ห้างวอลมาร์ทตัดสินใจยกเลิกการขายโดยกล่าวว่า

อุตสาหกรรมมะพร้าวใช้ลิงที่เชื่องแล้วเป็นเสมือนเครื่องเก็บมะพร้าวที่ถูกล่ามโซ่ ปิดกั้นพวกมันจากโอกาสใดๆในการที่จะได้กิน เล่น หรือการได้อยู่ร่วมกับครอบครัวของพวกมัน

ในแถลงการณ์ PETA ยังระบุต่อว่า บรรดาผู้ผลิตต่างยังคงแรงงานลิงและภายในอุตสาหกรรมต่างยังคงกำลังถกเถียงว่าฟาร์มนั้นซ่อนเร้นการปฎิบัติเช่นนี้ได้อย่างไรด้วยการแอบซ่อนลิงไว้จนกว่าผู้ตรวจจะกลับออกไปหรือว่าจ้างให้มีการนำลิงเข้ามาเฉพาะช่วงฤดูเก็บเกี่ยว

และ ในระหว่าง(ลิง)ไม่ได้ถูกบังคับเพื่อเก็บมะพร้าวหรือทำการแสดงโชว์คล้ายกับละครสัตว์สำหรับนักท่องเที่ยว สัตว์เหล่านี้จะถูกล่ามโซ่ ล่ามไว้กับยางรถยนต์เก่า หรือถูกขังไว้ในกรงที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดตัวไม่มากนัก

บิสซิเนสอินไซเดอร์รายงานว่า ในปี 2020 ทางบริษัทเทพผดุงพรมะพร้าว จำกัดออกมาปฎิเสธข้อกล่าวหาการใช้แรงงานทาสลิงเก็บมะพร้าว โดยในครั้งนั้นได้เปิดเผยกับหนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์ที่มีเนื้อหาว่า หลังจากข่าวเมื่อไม่นานมานี้เกี่ยวกับการใช้แรงงานลิงในอุตสาหกรรมมะพร้าวไทย ชาวเกาะซึ่งถือเป็นหนึ่งในผู้นำในระดับโลกในการผลิตน้ำกะทิขอยืนยันอีกครั้งว่าทางเราไม่เกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานลิงในสวนมะพร้าวของพวกเรา

ทั้งนี้เว็บไซต์ทางการของบริษัทเทพผดุงพรมะพร้าว จำกัดประกาศผ่านข่าวสาธารณะลงวันที่ 24 ก.พ ปี 2021มีใจความว่า บริษัท บูโร เวอริทัส (ประเทศไทย) จำกัด หน่วยงานอิสระตรวจสวนมะพร้าวที่ไม่มีลิงได้ทำสัญญากับบริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด โดยมีเนื้อหาดังนี้

บริษัท บูโร เวอริทัส (ประเทศไทย) จำกัด หน่วยงานอิสระตรวจสวนมะพร้าวที่ไม่มีลิงได้ทำสัญญากับบริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด (Monkey-Free Coconut Harvesting)