เปิดรายละเอียด เงิน 9,000 บ. นาน 3 เดือน เช็กด่วน

เปิดลงทะเบียนรับ เงินเยียวยา SMEs 3,000 บาท ตามที่ ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. (5 ตุลาคม 2564) เห็นชอบหลักการโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs (วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) จ่ายเงินเยียวยา จำนวน 3,000 บาท

ต่อหัวของจำนวนลูกจ้าง ไม่เกิน 200 คน สูงสุดไม่เกิน 6 แสนบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในการส่งเสริมและรักษาการจ้างงาน เป็นเวลานาน 3 เดือน ตามมติของ ศบศ.

ทั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงาน ตามมติของ ศบศ. พร้อมพิจารณาแนวการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับผู้ประกอบการในส่วนของรายได้จากเงินอุดหนุนดังกล่าว

โดยรายละเอียดสำคัญของโครงการ เงินเยียวยา SMEs ดังนี้

– ผู้ประกอบการธุรกิจSMEs ที่เข้าร่วมโครงการเยียวยานายจ้าง อุดหนุนการจ้างงานจะต้องเป็นนายจ้างภาคเอกชนที่อยู่ในระบบ- ประกันสังคม มีการจ้างงานลูกจ้างสัญชาติไทยจำนวนไม่เกิน 200 คน ในอัตรา 3,000 บาท/คน/เดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน

– รัฐจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อส่งเสริมและรักษาการจ้างงานให้แก่นายจ้าง ให้กับลูกจ้างสัญชาติไทย

– พิจารณาจากจำนวนลูกจ้างที่นำส่งเงินสมทบประกันสังคม

– นายจ้างจะต้องรักษาการจ้างงานไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 ในระหว่างร่วมโครงการ

– หากไม่สามารถรักษาระดับการจ้างงานได้ตามที่กำหมด จะไม่ได้รับเงินอุดหนุนในเดือนนั้น

– กรณีนายจ้างมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากยอดการจ้างงาน ณ วันเริ่มโครงการ จะได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มตามจำนวนการจ้างงานจริง โดยนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละจังหวัดตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างฯ

ไทม์ไลน์โครงการ เงินเยียวยา SMEs

– ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่วันที่ วันที่ 20 ต.ค.-20 พ.ย.64

ยืนยันเข้าร่วมโครงการ

ใส่ข้อมูลเลขบัญชีธนาคาร

ทราบยอดการจ้างงาน ณ เดือนที่เข้าร่วมโครงการ

– ระยะเวลาการโอนเงินเยียวยา

เดือนที่ 1 วันที่ 30 พ.ย.64

เดือนที่ 2 วันที่ 30 ธ.ค.64

เดือนที่ 3 วันที่ 31 ม.ค.65

เดือนตุลาคม 2564 จะเปิดให้เจ้าของธุรกิจเอสเอ็มอีมาลงทะเบียน เพื่อขอรับการเยียวยาก่อน

เดือนพฤศจิกายน 2564 เริ่มจ่ายเงินเยียวยาให้แก่เจ้าของธุรกิจเอสเอ็มอี ต่อเนื่องไปอีก 3 เดือน หรือประมาณช่วง

เดือนมกราคม 2565 จะเป็นช่วงสิ้นสุดการจ่ายเงินเยียวยา

อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะรักษาระดับการจ้างงานลูกจ้างสัญชาติไทยในธุรกิจ SMEs ที่มีลูกจ้างไม่เกิน 200 ราย ที่มีสถานประกอบการ จํานวน 480,122 แห่ง และจะสามารถรักษาการจ้างงานลูกจ้างได้จำนวน 5,040,176 คน